‘Super AI Engineer Season 5’ รวมพลังรัฐ-เอกชน-ประชาสังคม เดินหน้าปั้นบุคลากร AI เสริมขีดความสามารถแข่งขันไทย

เพราะเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทสำคัญมากในโลกยุคปัจจุบัน ความรู้และทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น การพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานและอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศไทย อันจะเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย โครงการ Super AI Engineer จึงได้เกิดขึ้น และเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT), หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.), กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (RMUTT) ได้จัดงานแถลงข่าวความร่วมมือการขับเคลื่อนพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ภายใต้โครงการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงด้านปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งมุ่งเน้นให้เกิดนวัตกร วิศวกร และนักวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศท่ามกลางสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็ว (Super AI Engineer Season 5) | นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี รักษาการที่ปรึกษาด้านพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่งภายในงานได้รับเกียรติจาก นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี […]

เปิดรับสมัครแล้ว! Super AI Engineer Season 5 โครงการพัฒนาบุคลากรด้าน AI ชั้นนำของประเทศ

สมัครเข้าร่วมโครงการ โครงการ Super AI Engineer หรือโครงการพัฒนากําลังคนสมรรถนะสูงด้านปัญญาประดิษฐ์โดยมุ่งเน้นให้เกิดนวัตกร วิศวกร และนักวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมของประเทศภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็ว  โดยโครงการมุ่งเน้นผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา กําลังคนด้านวิทยาศาสตร์รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ และนวัตกร ที่มีทักษะสูง ให้มีจํานวนมากขึ้น และตรงตามความต้องการของประเทศ โดยใช้วิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม แต่ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด ก่อเกิดอาชีพใหม่มากมาย ดังนั้นทางโครงการ ฯ จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนากําลังคนให้มีสมรรถนะสูงขึ้นกว่า 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเรียกว่า “Super AI X” เพื่อให้เกิดความแข็งแกร่ง มีศักยภาพทัดเทียมต่างประเทศหรือระดับสากลได้ ภายใต้กําลังคน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มนวัตกร (AI Innovator) กลุ่มที่สามารถใช้เครื่องมือ AI หรือ API สร้างเป็นนวัตกรรมหรือแก้ไขโจทย์ปัญหาอย่างง่ายได้ 2) วิศวกร (AI Engineer) กลุ่มที่สามารถสร้างหรือพัฒนาแบบจําลอง (Model) แล้วประยุกต์กับงานภาคอุตสาหกรรมได้ 3) นักวิจัย (AI Researcher) กลุ่มที่สามารถเผยแพร่ องค์ความรู้ ผลงานวิจัยสู่ระดับสากลได้ […]

Hello world!

Welcome to WordPress. This is your first post. Edit or delete it, then start writing!